ความกตัญญู เป็นสิ่งดี ไม่มีใครเถียงแน่นอน มันดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพใจ มันช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
แต่การที่ถูกปลูกฝังจากการเลี้ยงดูด้วยฐานความเชื่อของความกตัญญู มีหลายวิจัยหลายๆ ชิ้นมองไปในทางเดียวกันว่า ไม่ใช่เรื่องดี
และกลายเป็นปัญหาค้างเติ่งในภายหลัง
กตัญญู ต่างจาก ‘การติดหนี้’ เป็นเรื่องเจ็บปวดที่พ่อแม่หลายครอบครัว มองลูกเป็นการลงทุนระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่มีราคา
มีสินสอดในราคาโขกสับซึ่งล้วนต้องการภาวะคืนทุนในภายหลัง ทำให้ลูกหลานรู้สึกถึงสภาวะการเป็นหนี้ทางใจ
ที่ต้องทดแทนไปมาเป็นสภาวะถาวร ใครช่วยมาต้องช่วยกลับ ต่อให้เขาร้ายแค่ไหนก็ตาม แต่หากคุณสับสน ระหว่าง ‘กตัญญูกับการเป็นหนี้’
คุณจะต้องเหนื่อยกว่าเดิมเป็นทวีคูณเพราะความวิตกกังวล มักเกิดขึ้นเมื่อความคาดหวังระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่มีทางเติมเต็มให้กันได้
หรือสวนทางกัน บุญคุณไม่มี อัตราแลกเปลี่ยน ไม่แปลกเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณจะเผชิญหน้ากับจุดแตกหักทางความสัมพันธ์
ความย ากจนถ่ายทอดพันธุกร ร มผ่านพฤติก ร ร ม
เมื่อพ่อแม่ย ากจนจึงเลี้ยงลูกเพื่อหวังพึ่งพิงระหว่างทางก็สร้างหนี้สินพะรุงพะรัง คิดเพียงวันหนึ่งลูกเติบโตหาเงินได้
จะช่วยจัดการตรงนี้ คิดดูว่า ชีวิตพึ่งจะเริ่มต้นตั้งตัว ก็เจอภาระก้อนโตแล้ว หากวันหนึ่งลูกมีครอบครัวมีลูกเอง
ภาระก็จะเพิ่มเข้ามาอีก ต้องทำงานหนักแค่ไหนถึงจะเพียงพอช่วยเหลือตั้งหลายขา จนสุดท้ายขาดสภาพคล่องจึงต้องสร้างหนี้
วนลูปวงจรภาระสิค่ะ
สิ่งที่ควรทำคือ สร้างกรอบความคิดใหม่ เพื่อให้ความจนนี้มันจบที่รุ่นเรา เริ่มจากตัวเราเอง อย่าสร้างหนี้เพื่อส่งเงินให้ที่บ้าน
ควนเจรจากับที่บ้าน เล่าให้ฟังให้เข้าใจ หากจะมีคนอื่นมาว่าเรา อกตัญญู ก็ช่างเขาหากครอบครัวเราเองเข้าใจ เพราะชีวิตต้องเราตัวเองให้รอดก่อน
ถึงจะช่วยครอบครัวได้ ช่วยคนอื่นได้ บางที่อาจจะมองว่าเราเห็นแก่ตัว แต่เราก็ไม่ควรไปสร้างหนี้เพื่อให้คนอื่นสบายแต่ตัวเองต้องเดือดร้อน
คำว่ากตัญญู ไม่จำเป็นต้องแลกด้วยเงินเสมอไป อย่าให้ที่บ้านเสพติดภาวะพึ่งพิง หากยังมีกำลังก็ช่วยกันหารายได้ดูแลตัวเองกันไป
ไม่มีเงินยื่นมือให้คำปรึกษาแสดงความเป็นห่วงเป็นใย นี่ก็เป็นการแสดงความกตัญญู อีกทางหนึ่งเหมือนกัน
“ความกตัญญูเป็นสิ่งสวยงาม แต่ไม่ใช่ข้ออ้างในการผลักภาระอันหนักอึ้งให้ใครเพียงคนใดคนหนึ่ง”
ขอบคุณ : t o d a y