1. ใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น
เช่นวันนี้ ซื้อเสื้อไป 250 บาท ก็ให้เก็บ 250 บาท เท่ากับจำนวนเงิน ที่ใช้ไป ยิ่งเราใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก ก็ยิ่งต้องเก็บมาก
ถือเป็นการเก็บเงินหลังใช้และเป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ ค่อนข้างใช้เงินเก่ง เพราะยิ่งเราใช้เยอะ เราก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินให้เยอะขึ้นด้วย
2. แบ่งใช้ตามวัน
เช่น ตั้งเป้าว่าจะใช้วันละ 200 บาท เหลือใช้จากวันนั้นๆ ก็ให้นำเงินที่เหลือมาหยอดกระปุกเลย
ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ 1 ปีมาดูกันว่าจะมีเงินเก็บทั้งหมดเท่าไหร่!
3. หยอดกระปุกออมสิน
วิธีออมเงินแบบเดิมๆ ที่ยังใช้ได้ผล คือ แบ่งกระปุกออกเป็นหลายๆ ใบ เขียนเป้าหมายในแต่ละกระปุกว่าออมเพื่ออะไร
ให้เราเห็นเป้าหมายในทุกๆ วัน แค่นี้ก็มีกำลังใจ ในการออมแล้ว แต่อย่าลืมว่าต้องมีกระปุกสำหรับเงินเก็บด้วยนะ
4. เปิดบัญชีเงินปากประจำ
วิธีนี้รับรองว่ามีเงินเก็บชัวร์ พอเงินเดือนเข้าปุ๊บ ก็ดึงเข้าบัญชีฝากประจำปั๊บ ถอนไม่ได้ด้วยมีให้เลือกระยะเวลาด้วย
ว่าอยากออมกี่เดือน 12 เดือน 24 เดือน หรือ 36 เดือนก็ได้ ดอกเบี้ยสูงแถมไม่เสียภาษีด้วยนะ!
5. ตั้งเป้าว่าจะเก็บเท่าไหร่
ใน 1 ปี ตั้งเป้าเลยว่า อยากมีเงินเก็บเท่าไหร่ เอาเท่าที่ไหว เช่น อยากมี 1 แสนบาท!!
ก็ตกเดือนละ 8,333 บาท หรือ วันละ 274 บาทนั่นเอง ถ้าไหวก็ลุยโลดดด
6. เก็บเงินตามวันที่
วิธีนี้ให้เอาวันที่เป็นตัวตั้ง หมายความว่า วันที่ 1 ให้เก็บเงิน 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท หยอดกระปุกไปเรื่อยๆ
จนถึงวันที่ 31 เก็บ 31 บาท พอขึ้นเดือนใหม่ ก็เริ่มเก็บ 1 บาทใหม่ตามวันที่นั้น ๆ ทำแบบนี้ไปทุกเดือน ๆ รวมทั้งปี
เราจะมีเงินเก็บทั้งหมด 5,738 บาท หรือถ้าใครจะเก็บเงินวันที่ 1 เป็น 10 บาท วันที่ 31 เป็น 310 บาท
ก็ได้รวมทั้งปีเราจะมีเงินเก็บถึง 57,380 บาทเลยยย!!!! แม่เจ้าครึ่งแสนนน
7. เก็บ 10% ของเงินเดือน
พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็ให้เก็บก่อนเลย 10% ของเงินเดือน ถือเป็นการเก็บเงินก่อนใช้
สมมุติได้เงินเดือน 20,000 บาท ก็เก็บ 2,000 บาท ทำแบบนี้ทุกเดือน ๆ ถึงสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บ 24,000 บาท
8. เก็บเศษเงินเดือน
สำหรับคนที่เงินเดือนมีเศษ เช่น 20,650 บาท ก็ให้เก็บเศษ 650 บาท หากใครมีเศษน้อยหน่อยเช่น 19,250 บาท
ก็อาจจะเก็บ 1,250 บาทเลยก็ได้ ลองปรับดู ตามความเหมาะสม แล้วเก็บแบบนี้ไปทุกเดือน ๆ
เศษเงินเดือนที่ว่าเล็กก็สามารถกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ไม่ยาก
ขอบคุณ : s a l e h e r e