ตอนที่ยังเป็นเด็กนักเรียน หลายคนต่างเชื่อเสมอว่าถ้าได้ตั้งใจเรียน สอบติดคณะที่ใช่
ยิ่งมีโอกาสได้งานที่ดี เงินเดือนที่ดี และยิ่งเป็นอาชีพที่ใครก็รู้จักเช่น ข้าราชการ, วิศวกร
นักธุรกิจยิ่งน่าภูมิใจไปใหญ่ เพราะนอกจากเงินเดือนที่ได้ ส ม น้ำ ส ม เ นื้ อ มีจำนวนมากพอที่จะจุนเจือ
ครอบครัวได้ มีสวัสดิการรองรับให้สุขสบายยังเป็นอาชีพที่ถือว่า “มีหน้ามีตา” ใครก็ต้อนรับกันหมด
แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว อาชีพที่ “มีหน้ามีตา” ในสังคม ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป
และในแต่ละอาชีพ เขาก็มีการกำหนดอัตรารับสมัครแต่ละปีที่ค่อนข้างจำกัดน่ะสิ !
“แล้วจะเรียนไปทำไม ถ้าสุดท้ายก็ได้งานที่ไม่ตรงสาย/ งานที่น้อยคนจะรู้จัก/ เงินเดือนที่ไม่ได้มากมายอะไร ?”
คำถามนี้จะได้คำตอบที่ เ ค รี ย ด มากเลย เพราะมันเต็มไปด้วยความคาดหวังที่คิดว่า
“เรามีทางเลือกอยู่ไม่กี่อย่างในชีวิต” แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นความคิด “ฉันทำงานอะไรก็ได้
ไม่ว่าจะตรงสายหรือไม่ก็ตาม” มันอาจดูประโยคขี้แพ้ในสายตาบางคน
แต่ถ้าคิด ๆ ดูแล้ว มันได้ความสบายใจ เยอะกว่าการตั้งคำถามแบบแรกเพราะความเป็นจริงของชีวิตคือ
1. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในตัวเอง “แตกต่าง” กันไปเราไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกันหมด
2. ในรั้วโรงเรียน- ม ห า วิ ท ย า ลั ยต่อให้เราได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งแค่ไหน
ขอบเขตความรู้มันก็เป็นเพียงความรู้ในรั้วเท่านั้นโลกของวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้น เรายังต้องรู้เห็นอีกมาก
เรียนรู้กันอีก ย า ว ลองผิดลองถูกกันอีกเยอะดังนั้น จะมา ฟั น ธ ง ว่าเรียนมาสายวิทย์
ต้องทำงานสายวิทย์ เรียนสายภาษาต้องทำงานสายภาษา มันก็ไม่ถูกเสมอไป
3. มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ “ใช่”
ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับตัวไป สิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้ บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุด
สิ่งที่เราเก่งในตอนนี้ ในวันข้างหน้า มันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำ
เพราะอาจมีหลายปัจจัยให้คิดมากขึ้น เช่น จำเป็นต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้
เพราะเงินไม่พอจำเป็นต้องทำงานหาเงินก่อน แล้วค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบ …
เราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย (ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
4. สิ่งที่เราเรียนมาเป็นสิบเป็นร้อยกว่าวิชา มันคือ “การหล่อหลอม” หลายวิชาไม่ได้
สอนเราทางตรง แต่ให้เราค่อย ๆ ซึมซับข้อดีแต่อย่างไปเอง เช่น ฝึกความอดทน, ฝึกความประณีต,
ฝึกทักษะการเข้าสังคมในครั้งหนึ่งที่เราไม่เห็นประโยชน์ว่าจะใช้อะไรได้จริง พอโตขึ้นอีกหน่อย
มันก็ต้องมีบ้างแหละที่เรานึกอะไรขึ้นมาจนต้องไปหา อ่ า น ปัดฝุ่นตำราอีกครั้ง
ทุกความรู้ที่เราได้รับ ไม่เคยสูญเปล่า แค่เรามองไม่เห็นค่ามันเอง ลองนึกดูให้ดีสิ !
5. มนุษย์เราควรมีทางเลือกให้กับชีวิตไว้หลายด้าน หรือ “มีแผนสำรอง”
เพื่อไม่เป็นการปิ ด กั้ นตัวเองจนเกินไป เช่น ถ้าวุฒิที่เราเรียนมามันหางาน ย า ก จะยอมรึเปล่าที่เอาวุฒิต่ำกว่านี้หางานไปก่อน?
ถ้าเราไม่ได้อาชีพนี้ เรายอมได้รึเปล่าที่จะทำอาชีพอื่นไปพลางๆ ก่อน?
ความฝันสิ่งที่ใช่ มันไม่ควรเป็นสิ่งที่ได้ดั่งใจในทันทีมันเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ที่ต้องแลกกับความเหนื่อย
ความ พ ย า ย า ม หลายเท่าตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากจะพบว่าทำไม ห ม อ
บางคนถึงแต่งเพลงได้?
ทำไมบางคนเรียนวิชาชีพแต่มาเป็นศิลปิน?
ทำไมบางคนเรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จ?
ถ้ายังไม่เข้าในข้อนี้ ลองย้อนกลับไป อ่ า น ข้อ 4 อีกรอบขึ้นชื่อว่า “ความรู้” เราได้รับมา
ถึงจะไม่ใช้ในทันทีก็ไม่ควรเสียดาย ขึ้นชื่อว่า “ความฝัน” ถึงจะยังไม่ใช่ในวันนี้
ใช่ว่าวันหน้าจะเป็นไปไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเราล้วน ๆ ว่า… “รู้ตัวดีหรือไม่ว่าทำอะไรอยู่?” และ
“พร้อมจะยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ชีวิตรึเปล่า?”
อย่ าลืมว่า…โลกเรากลม และมีหลายมิติ ใช่ว่าจะต้องมองเพียงด้านเดียว
ขอบคุณ : ทำ ใ จ